ท้าวกะหมังกุหนิง
เป็น กษัตริย์ ผู้มีความรัก ความเมตตา ต่อลูกชายของตน วิหยาสะกำ สังเกตได้จากตอนที่ลูกของตนหลงรักนางบุษบา ถึงจะรู้ว่านางบุษบามีคู่หมั้นแล้วแต่ ด้วยความสงสารลูก ก็ได้ไปขอนางบุษบาให้ ถือเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ที่มีให้แก่ลูกแต่เป็นผู้มีโทสะ รุนแรง ไม่ ยังคิด สังเกตได้จาก ตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตไปสู่ขอนางบุษบา ได้ถูกท้าวดาหาปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงทรงโกรธ จึงทัพไปตี เหตุการณ์นี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความมีอารมณ์ ความขาดสติมาก ไม่ได้คิดไตร่ตรองเสียก่อน ทำการใดๆ ส่งผลทำให้เกิดปัญหามากมายภายหลัง
วิหยาสะกำ
เป็น ลูกของท้าวกะหมังกุหนิง เป็นผู้มีความเอาแต่ใจตน และลุ่มหลงในรูปรสภายนอก ดูได้จากให้พ่อของตนไปส่งนางบุษบา ทั้งที่รู้ว่านางบุษบามีคู่หมั้นแล้ว แต่ก็ยังต้องการนางบุษบา เพราะ วิหยาสะกำลุ่มเกิดหลงในรูปรส ที่ได้เห็น สังเกตได้จากกลอนที่วิหยาสะกำ ทรงบรรยายถึงความสวยของนางบุษบาดังนึ้
พระทนต์แดงดังแสงทับทิม เพริศพริ้มเพราพักตร์คมขำ
ผิวพรรณผุดผ่องเพียงทองคำ วิไลลักษณ์เลิศล้ำอำไพ
ผิวพรรณผุดผ่องเพียงทองคำ วิไลลักษณ์เลิศล้ำอำไพ
ท้าวดาหา
เป็นผู้ที่ถือเกียรติแห่งวงศ์เทวามาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ กลับเป็นผู้ที่เกือบทำให้วงศ์เทวาสิ้นเกียรติเช่นกัน(กรณียกบุษบาให้จรกาและ ตัดสินใจเปิดศึกกับกะหมังกุหนิง)ท้าวดาหาเป็นผู้ที่ประชดประชันเก่ง ไม่ยอมให้ผู้อื่นมาย่ำยีดาหาง่ายๆ เมื่ออิเหนาตัดสัมพันธ์ก็ประชดอิเหนาและท้าวกุเรปันพระเชษฐา โดยการประกาศยกพระธิดาให้ระตูทันที(อันเป็นการผิดราชประเพณี เพราะ วงศ์เทวาจะต้องอภิเษกกับวงศ์เทวาด้วยกันเท่านั้น)แต่ท้าวดาหาก็ทรงทำไปเพราะ ความโกรธอิเหนาพระนัดดาเท่านั้นไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะยกบุษบาให้จรกา เท่าใดนัก แต่เมื่อทรงคิดได้ก็ไม่ทันการแล้ว)
ท้าวกุเรปัน
ทรงตั้งอยู่ในสัจจะมาก ทรงยึดถือความถูกต้องมาก่อน เมื่ออิเหนาก่อเหตุก็ไม่ทรงเข้าข้างอิเหนาแต่อย่างไร ทรงเป็นผู้ที่ถือเกียรติแห่งวงศ์เทวามาเป็นอันดับหนึ่ง เช่นเดียวกันกับท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันทรงมีพระทัยเด็ดเดี่ยวมาก จะเห็นได้จากเมื่อทรงโปรดให้อิเหนายกทัพจากหมันหยาไปช่วยดาหารบ ทรงยอมที่จะตัดความเป้นพ่อลูกกันหากอิเหนาไม่ยอมยกไปช่วย